มะเร็งปากมดลูก ที่ผู้หญิงอย่างเราควรระวัง กับ ความเสี่ยง และ วิธีการดูแลป้องกัน
| By view
มะเร็งปากมดลูก จัดเป็นมะเร็งของ อวัยวะสืบพันธุ์สตรี โดยเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในสตีไทย จึงทำให้มีการเสียชีวิตเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากจากโรคมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละปีจะมีผู้หญิงไทย ประมาณ 6000-8000 คน เสียชีวิตจากโรคนี้ เฉลี่ยวันละ 8-10 คน เลยทีเดียว
มะเร็งปากมดลูก
เกิดจาก เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดความผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากการ ระคายเคืองของสารเคมี ไปจนถึงสาเหตุที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อไวรัส HPV โดยผู้หญิงทุกคน นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และเกือบ 100% ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกนั้นเกิดจากการติดเชื้อ HPV เพราะเชื้อตัวนี้นั้นสามารถติดง่าย นอกจากจะติดจากการมีเพษสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดได้จากการสัมผัสได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อร่างกายนั้นได้รับเชื้อ HPV แล้ว เป็นครั้งแรก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกัน นั้นพยามปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัส อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัส HPV อาจจะทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกนั้นเกิดความผิดปกติและอาจส่งผลให้กลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
ดังนั้น ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกเพื่อ ป้องกันเชื้อ HPV นั้น จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้อีกเช่นกัน
ซึ่งในระยะแรก นั้นมักจะไม่แสดงออกถึงอาการ ความผิดปกติใดๆ แต่ในภายหลังก็จะมีอาการเป็นหนักมากขึ้น ก็จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติ ทางร่างกาย เช่น การมีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรืออาการตกขาวผิดปกติ และมีอาการปวดร่วมด้วย
โดยเชื้อ HPV คือสาเหตุเดียวเท่านั้น แต่ก็ต้องเป็นเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งมีทั้งหมด 15 สายพันธุ์ จากทั้งหมด 100 สายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ 16 และ 18
โดยในผู้ชาย นั้นก็สามารถติดเชื้อ HPV ได้เช่นกัน แต่ก็มีโอกาสตรวจเจอเชื้อได้ น้อยมาก ซึ่งผู้ชายนั้นจะเป็นแค่ พาหะเท่านั้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
- เกิดจากการมี คู่นอน หลายคน หรือ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
- เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพัธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- การได้รับการวินิจฉัย ว่าเป็นโรคติดต่อทางเพาสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ อย่างเช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย โรคหนองในแท้ โรคซิฟิลิส และโรคติดเชื้อเอสไอวี เป็นต้น
- เกิดขึ้นจากภูมิคุ้มกันไม่ดี โดยมีโอกาสในการเป็นมะเร็งปากมดลูกมากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะหากระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
- การสุบหรี่
สัญญาณเตือน!! ก่อนเกิดมะเร็งปากมดลูก
- ในขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือ ภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ นั้น มีเลือดออก
- หลังจากที่ประจำเดือนหมด ก็ยังคงมีเลือดออกอยู่
- มีอาการเลือดออก กะปิดกะปอย คล้ายประจำเดือน
- มีเลือดคลายประจำเดือน ออกมาเป็นจำนวนมากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยขึ้น
- มีอาการ ตกขาว หรือ ตกเหลือง มากกว่าปกติ และมีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลา
- ช่วงที่มีอาการตกขาว นั้น ในบางครั้งก็มีอาการ ปวดท้องน้อย ร่วมด้วย
- มีอาการ เบื่ออาหาร ซูบซีด ผอม และ ออ่นเพลีย
ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ซึ่งได้แก่ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย มีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธุ์ การมีประจำเดือนนั้นมาแบบผิดปกติ ซึ่งมานานขึ้นหรือมามากขึ้นกว่าปกติ หรือมีอาการเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว
- มีอาการของ การตกขาว ที่ผิดปกติ โดยมีการตกขาวปริมาณมาก หรือตกขาวมีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือดปนร่วมด้วย
- มีอการปวดหน่วงบริเวณ ท้องน้อย โดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีอาการเจ็บหลังการมีเพศสัมพันธ์
การรักษา แบ่งออกเป็น 3 วิธีดังนี้
- การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอา มดลุก ออกนั้นมักเป็นวิธีการในการรักษามะเร็ง ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 นั้นคือเซลล์มะเร็งที่อยู่บริเวณปากมดลูก และ บริเวณช่องคลอด เป็นต้น โดยแพทย์จะทำการผ่าเอาปากมดลูก มดลูก ช่องคลอดส่วนต้น และ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณนั้นออก
- การใช้ยาเคมีบำบัด โดยแพทย์นั้น อาจจะใช้วิธีนี้ในการรักษา แบบเคมีบำบัดอย่างเดียว หรือ ใช้ร่วมกับการรักษาในแบบอื่นๆ เช่น ยา หรือรังสีรักษา เนื่องจากการรักษาโดยการใช้ เคมี นั้นจะทำให้ผลของการรักษาโดยรังสีได้ผลดีมากขึ้น
- การใช้รังสีรักษา ในการใช้รังสีรักษา นั้น มักจะใช้กับผู้ป่วยที่ เป็นมะเร็งปากมดลูก ในระยะที่ 2 ขึ้นไป หรือผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ เช่น โรคอ้วน หรือ การแพ้ยาสลบ
ควรทำการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อต้านเชื้อ HPV
ก่อนการมีเพศสัมพันธ์ ในครั้งแรก นั้นสามารถฉีดได้ตั้งแต่ อายุ 9-26 ปี โดยทำการฉีด จำนวน 3 เข็ม ซึ่ง วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% หากว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ก็สามารถฉีดได้เช่นกัน
แต่วัคซีน นั้นจะมีประสิทธิภาพดี ก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ใน วัคซีน มาก่อน โดยวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก นั้นมีให้เลือกฉีด ถึง 2 แบบ คือ วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และ วัคซีนป้องกันปากมดลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.medparkhospital.com/content/cervical-cancer
ติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ https://girlvariety.com ชุมชนสำหรับผู้หญิง