ท้องเสีย กับ อาการ และ วิธีการป้องกัน ที่คุณไม่ควรมองข้าม
| By view
ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง ซึ่งเป็นอาการของการ ถ่ายอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งอาจถ่ายเป็นมูกปนเลือดร่วมด้วย โดยอาการ ท้องเสีย นั้นมักเกิดจากการ ติดเชื้อ หรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค มักมีอาการเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายก็อาจมี อาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจาก โรคอื่นๆได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ ในโรคของลำไส้แปรปรวน
ท้องเสีย
อาการ ท้องเสีย ที่มักพบได้บ่อยและสังเกตุได้ง่ายก็คือ มักจะมีการ ถ่ายอุจจาระเหลว มีการถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป มี อาการถ่ายบ่อยกว่า ปกติ ของแต่ละคน หรือมีอาการถ่ายเป็นมูกปนเลือก 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ภายใน 24 ชั่วโมง แล้วในบางรายอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อาการปวดท้อง ท้องอืด มีอาการคลื่นไส้ ออ่นเพลีย และรุู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้ร่วมด้วย
โดย ปกติแล้ว ในลำไส้นั้น จะสามารถดูดซึมสารอาหาร ในรูปแบบของเหลวได้จากสิ่งที่รับประทาน เข้าไปในร่างกายจนเหลือแต่กากใยทิ้งไว้ แต่เมื่อเกิดอาการท้องเสียขึ้นแล้ว มักจะทำให้ลำไส้ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยสารอาหารเหล่านั้น จึงไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกมาจากร่างกาย
อาการท้องเสีย มักจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงมาก แต่ก็อาจจะสร้างความทรมารให้แก่ผู้ป่วยได้เช่นกัน และอาการท้องเสียนั้นอาจเป็นเรื้อรังจนทำให้ก่อโรค อื่นๆตามมาด้วยในภายหลัง ผู้ป่วยก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากมีอาการดังต่อไปนี้
- หากเกิดภาวะขาดน้ำ หรือ มีอาการท้องเสียมากกว่า 2 วัน ในเด็กเล็กและทารก หากมีอาการเกิน 1 วัน ควรพาไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิต จากภาวะขาดน้ำ
- มีอาการปวดใน ช่องท้องอย่างรุนแรง
- มีไข้ขึ้นสูง 39 องศาเซลเซียส
- มีการถ่ายอุจจาระมีเลือดปะปน และการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
สาเหตุของอาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน
- การติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อ มากกว่าร้อยละ 80% เป็นได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปาราสิต โดยเชื้อแบคทีเรียนั้นมักปนเปื้อนใน น้ำ และ อาหาร ก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมา ได้แก่ เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
- การติดเชื้อไวรัส โดยมีไวรัส หลายชนิดที่ก่อให้เกิด อาการท้องเสีย เช่น โรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส และไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น โดยโรต้าไวรัสเป็นสาเหตุของการเกิด อาการท้องเสีย ในเด็กมากที่สุด ซึ่งสามารถหายได้ภายใน 3-7 วัน แต่ก็อาจจะก่อให้เกิด ปัญหาในการย่อยและดูดซึมแล็กโทส ที่พบได้ในน้ำนม
- การได้รับเชื้อปรสิต โดยเชื้อ ปรสิต นั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่าน อาหาร และ น้ำ ที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่ มักพบ คือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกา หรือ เชื้อบิดอะมีมา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
อาการท้องเสียแบบเรื้อรัง
- เป็นอาการท้องเสียที่เกิดขึ้น ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ นั้นจะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งมีปัจจัยดังต่อไปนี้
- โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ โดย โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอค หรือ แพ้กลุเตน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ และโรคตับออ่นอักเสบเรื้อรัง รวมไปถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
- อาหาร โดยมีปัญหา ในการย่อยอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับน้ำตาลแล็กโทส หรือการรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมาก ก็ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่นกัน
- การตอบสนองต่อยาบางประเภท โดยใน ยา บางประเภทนั้นสามารถทำให้เกิด อาการท้องเสียได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยาลดความกรด เป็นต้น
- การผ่าตัด โดยอาการท้องเสีย นั้นอาจเกิดขึ้นได้หลังจากการ เข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออก
วิธีการดูแลตนเอง เมื่อมีอาการท้องเสียในช่วง 24-72 ชั่วโมง
- ขั้นตอนแรก ควรหยุดรับประทานอาหาร 2-4 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้นั้นหยุดการทำงาน
- หาเกลือแร่มาผสมน้ำต้มสุก และทำการดื่ม หรือเราสามารถใช้เกลือป่นผสมกับน้ำต้มสุก เพื่อทดแทนน้ำกับเกลือแร่ที่ร่างกายนั้นสูญเสียไป
- จากนั้นให้เริ่มรับประทาน อาหาร ที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยงดอาหาร รสจัด และ ผัก ผลไม้
- รับประทาน โยเกิร์ต ที่มีไบรโอติก โดยเชื้อ แบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ใน โยเกิร์ตนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้
- งดการดื่ม นม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน จนกว่าจะหายท้องเสีย
- ทำการหลีกเลี่ยงการ รักษาโรคท้องเสีย ยกเว้นแพทย์สั่งเท่านั้น เพราะจากการท้องเสียเป้นการขับสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย โดยการที่ทำให้ดีขึ้น คือต้องยอมถ่ายของเหลวออกให้หมด
- ต้องรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง หรือยาลดไข้ โดยเมื่อมีอาการเหล่านี้ในขณะท้องเสีย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
ติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ https://girlvariety.com ชุมชนสำหรับผู้หญิง