Girl Variety

ชุมชนสำหรับผู้หญิง

ท้องผูก ไม่ใช่เรื่องตลก กับ ประเภท และ อาการที่ทุกคนควรสังเกตุ

| By

ท้องผูก

ท้องผูก อาการที่หลายๆคนต้องเคยเป็น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจกันว่าเป็นอาการ ที่ไม่มีการขับถ่ายหรือมีความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ หรือการมีอุจจาระที่แข็งทำให้ลำบากต่อการขับถ่าย แต่จริงๆแล้ว อาการ ท้องผูก นั้นในทางการแพทย์ยังรวมไปถึงอาการ ความเจ็บปวดเวลาเบ่งถ่าย หรือ มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ รวมไปถึงการใช้เวลานานในการเบ่งถ่าย

ในส่วนมาก อาการท้องผูก นั้นมักพบได้มากในผู้หญิง และก็เป็นได้ในทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในวัยทำงาน อาการท้องผูกเป็นอีกอาการที่พบได้บ่อยในคนไทยและในประชากรทั่วโลกเช่นกัน โดยมีการศึกษาพบว่า ร้อยละ 24 ของประชากรชาวไทยนั้นคิดว่าตนเองมีอาการท้องผูก โดยมีอาการ ดังต่อไปนี้

ท้องผูก กับอาการที่ผู้ป่วยต้องสังเกตุ

  • มีการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
  • ในเวลาที่มีการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการเบ่งมากกว่าปกติ
  • ในอุจาระมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง กว่าปกติ
  • มีอาการและความรูสึกว่า ถ่ายไม่ออกเหมือนมีสิ่งอุดตันกั้นบริเวณทวานหนัก
  • มีการใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจาระ หากมีอาการนานกว่า 3-6 เดือน นั้นถือว่าเป็นอาการท้องผูกเรื้อรัง

อาการท้องผูกมักเกิดจากสาเหตุอะไร?

โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้

  • เกิดจากสาเหตุ ของโรคทางกาย ได้แก่ โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ รวมไปถึง ภาวะการขาดแคลเซียมในเลือดสูง และโรคของระบบทางเดินประสาทต่างๆ
  • การรับยา ที่รับประทานอยุ่เป็นประจำ โดยยาที่พบว่าทำให้เกิดอาการท้องผูกได้บ่อย ได้แก่ กลุ่มยาทางจิตเวช เช่น ยาที่ใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้า ยาที่ช่วยลดการบีบเกร็งของลำไส้ที่ใช้แก้ปวดท้อง ยาที่ใช้ในรักษาโรคพาร์กินสัน และยาในกลุ่มแก้แพ้บางชนิดที่ใช้กันเป็นประจำ รวมไปถึงยากันชัก ยาลดความดันโลหิต และ ยาแก้ปวดทีมีส่วนผสมของ Aluminium
  • เกิดจากการ อุดกั้นของลำไส้ โดยการอุดกั้นของทางเดินอาหาร นั้นสามารถทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ ซึ่งโดยภาวะดังกล่าว ได้แก่ มะเร็งเนื้องอก ของลำไส้ใหญ่ และทวานหนักลำไส้ตีบต้นจากสาเหตุต่างๆ และความผิดปกติทางทวานหนัก
  • สาเหตุที่เกิดจาก การทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ การขับถ่าย นั้นผิดปกติ ได้แก่ การเบ่งไม่ได้เป็นไปตามปกติ โดยมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดทวานหนักที่ไม่ประสานกันกับการเบ่ง มีการเคลื่อนไหวของ ลำไส้ น้อยกว่าปกติ หรือมีการเคลื่อนไหวที่ไม่ประสานกัน จึงทำให้อุจจาระมีการเคลื่อนไหวภายในลำไส้ใหญ่ที่ ช้า กว่าปกติ หรือ ภาวะลำไส้แปรปรวน

ประเภทของท้องผูก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

การเกิดอาการท้องผูกโดยมีปัจจัยส่งเสริมนอกจากการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย ได้แก่

  • เกิดจากการ อุดกั้น ของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเกิดจาก ก้อนเนื้อ หรือมะเร็งมากด และรวมไปถึงการตีบแคบของ ลำไส้จากผังผืด หรือการผ่าตัด
  • ภาวะของการตั้งครรภ์ หรือ ในหญิงที่ตั้งครรภ์
  • เกิดจากโรคระบบ ต่อมไร้ท่อ ต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนไทรอย์ต่ำ
  • เกิดความผิดปกติ ของเกลือแร่ ในร่างกาย เช่น ภาวะโพแทสเซียมต่ำ และ ภาวะแคลเซียมสูง
  • ใน ยา บางประเภท เช่น ในกลุ่มยา แก้ปวด กลุ่มที่มีมอร์ฟีน หรือ ยารักษาความดันโลหิตสูงบางกลุ่ม ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษามะเร็งบางชนิด รวมไปถึง ยาแก้ท้องเสีย ยาลดการเกร็งของทางเดินอาหาร ยาลดกรดหรือยาเคลือบกระเพาะ และยาบำรุงที่มีธาตุเหล้กเป็นส่วนประกอบ
  • ในโรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกและไขสันหลัง พาร์กินสัน และ เส้นเลือดในสมองตีบ หรือ เส้นเลือดในสมองแตก รวมไปถึงผู้ป่วยติดเตียง

อาการท้องผูกที่มีความผิดปกติของการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย แบ่งออกตามลักษณะของการทำงานที่ผิดปกติ ดังนี้

  • โดยท้องผูกที่มี เกิดจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ ที่ผิดปกติ หรือ อาจเรียกกลุ่มนี้ว่า ลำไส้แปรปรวน ซึ่งจะพบได้ประมาณเกือบครึ่งหนึ่ง ของอาการท้องผูกในกลุ่มนี้ และ อาจจะพบได้ว่า มีความรับรู้ความรู้สึกไวของลำไส้ตรงได้ในกลุ่มนี้
  • ในท้องผูกชนิดที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อ ที่ใช้ในการขับถ่าย พบประมาณ 1/3 ของท้องผูกในกลุ่มนี้ ซึ่งอาการที่เกิดจากการที่ กล้ามช่องท้องที่ใช้ช่วยในการเบ่งนั้นมีแรงไม่เพียงพอ การที่กล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่สัมพันธ์ กับ การเบ่งถ่ายอุจจาระ โดยมีการเกร็งตัวหรือไม่คลายตัวดีในขณะการเบ่งถ่าย
  • ท้องผูกชนิด ที่ลำไส้ นั้นมีภาวะเคลื่อนไหวตัวช้ากว่าปกติ ซึ่งพบน้อยที่สุดในกลุ่มนี้

อาหารแก้ท้องผูก ที่ช่วยทำให้เรื่องของการขับถ่ายเป็นเรื่อง ง่ายๆ

  • ข้าวกล้อง / ขนมปังโฮลวีต / ข้าวโอ๊ต
  • ธัญพืช / ถั่วต่างๆ
  • โยเกิร์ต / นมเปรี้ยว
  • ลูกพรุน / ลูกเกด
  • ผักบุ้ง / ผักกาดขาว / บวบ
  • กล้วย / ฟักทอง / มะละกอ
  • แอปเปิ้ลแดง / แอปเปิ้ลเขียว / ฝรั่ง
  • เมล็ดแมงลัก
  • น้ำสะอาด น้ำอุ่น / น้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น / นม

โดยการ กินอาหารที่มีใยอาหารสูง พบมากในผัก ธัญพืชไม่ขัดสี ให้กินผักให้ได้ 3-5 ทัพพี ต่อวัน กินผลไม้ให้ได้ 3 จานรองแก้วกาแฟต่อวัน เทียบเท่ากับการกินผลไม้ 6-8 ชิ้นคำ เน้นผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด

เลือกกินอาหารที่มีดไพรไบโอติกส์ โดยใน ไพรไบโอติกส์มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการลดอาการอักเสบในลำไส้ และช่วยกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้เพื่อการ ขับถ่ายที่ดี โดยอยู่ใน นมเปี้ยว โยเกิร์ต

การดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ในการดื่มน้ำที่ไม่เพียงพอ คือ สาเหตุหนึ่งของอาการท้องผูก ควรกินอาหารที่มีใยอาหารเพียงพอร่วมกับการดื่มน้ำเปล่าให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน


ขอขอบคุรข้อมูลจาก http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=2321

ติดตามข่าวสารอื่นๆได้ที่ https://girlvariety.com ชุมชนสำหรับผู้หญิง