Girl Variety

ชุมชนสำหรับผู้หญิง

ซิงค์ คืออะไร ? มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร และมีส่วนช่วยในเรื่องอะไรบ้าง

| By

ซิงค์

ซิงค์ (Zinc) หรือสังกะสี ที่หลายๆคนนั้นรู้จักกันดี เป็นแร่สังกะสี อีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของการเจริญเติบโต ซิงค์ นั้นเป็นแร่ธาตุที่พบในเนื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกาย และยังมีความเกี่ยวข้องกับการทำงาน ของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิด เพราะฉนั้นแล้ว ซิงค์จึงมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเราในหลายๆด้านเลยทีเดียว

ซิงค์ คืออะไร ?

ซิงค์หรือแร่สังกะสี นั้นถือเป็นอีกหนึ่งในสารที่สำคัญต่อร่างกาย เพราะร่างกายนั้นไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้ หรือไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ แต่จะได้รับผ่านทางการ รับประทานอาหารเท่านั้น สามารถพบได้ในเซลล์ทั่วร่างกาย เช่นในเซลล์ของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว สามารถพบสังกะสีเป็นจำนวนมาก โดยการทำงานร่วมกับแร่ธาตุทองแดง

โดยร่างกายนั้นจำเป็นต้องใช้แร่สังกะสี เพื่อใช้ในกระบวนการทำงานต่างๆของร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต และการพัฒนาของร่างกาย ปฎิกริยาของเอนไซม์ การสังเคราะห์โปรตีน การสังเคราะห์ DNA การฟื้นฟูบาดแผล และ การแสดงออกของยีน

ในร่างกายของมนุษย์นั้น มีสังกะสีอยู่ 2-4 กรัม ที่กระจายอยู่ในเซล์ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะ ในกล้ามเนื้อ กระดูก และผิวหนัง แต่อย่างไรก็ตามในร่างกายนั้น ไม่มีจุดที่ทำหน้าที่เป็นคลังเก็บสำรองสังกะสี เพราะฉนั้นเราจึงต้องได้รับสังกะสีอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของอวัยวะ ที่มีปริมาณของสังกะสีมากที่สุด ได้แเก่ ต่อมลุกหมาก และในเซลล์อสุจิ ความต้องการสังกะสีนั้นจะมีมากขึ้นในช่วงที่ ร่างกายเจริยเติบโตขึ้น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และแม่ที่ให้นมบุตร รวมไปถึงผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ และผู้สูงอายุ ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ที่มีภาวะเคลียด ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ และผู้ที่มีเหงื่อออกในปริมาณมาก เช่นกัน

ประโยชน์ของซิงค์

  • ซิค์มีส่วนช่วยในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน

เนื่องจาก ร่างกายของเรา นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้แร่ สังกะสี ในการทำงานของเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันที่ เรียกว่า T-cells ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีส่วนช่วย ในการควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และยังจัดการกับเซลล์ที่ติดเชื้อ หรือเซลล์ที่ผิดปกติ โดยในงานวิจัยหลายชิ้น พบว่า ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกัน ที่ออ่นแอ เช่น ในผุ้สูงอายุ แนะนำให้บริโภคหารหารที่มีแร่สังกะสี เพื่อช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และยังช่วยป้องกันจากโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคปอดอักเสบ เป็นต้น

  • ช่วยลดอาการอักเสบ

ซิงค์นั้นมีส่วนช่วย ลดปริมาณของความเคลียด ที่เกิดจากออกซิเดชั่น และยังช่วยลด ปริมาณของโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิด การอักเสบได้

  • ช่วยจัดการในเรื่องของสิว

เป็นอีกข้อเด่นๆ ของซิงค์เลยทีเดียว เพราะเนื่องจากปัญหาสิว ส่วนใหญ่นั้นมักเกิดจากอาการ อักเสบ หรือ อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยในงานวิจัยนั้น พบว่า การทายา หรือ การรับประทานยาที่มีส่วนผสม ของซิงค์ นั้นช่วยรักษาอาการ สิวได้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของสิวและยังป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว ที่สำคัญยังช่วยลดการทำงานของต่อมไขมัน ช่วยลดการสะสมและการอุดตันของไขมันบนใบหน้า อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้อีกด้วย

  • มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูบาดแผล

ในการรักษาความสมบรูณ์ของโครงสร้างผิวหนังนั้น มีซิงค์ ที่เป็นส่วนสำคัญในการรักษา โดยพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการบาดแผลเรื้อรัง นั้นมักจะมีปัญหาเรื่องการเผาผลาญแร่สังกะสีบกพร่อง และยังมีระดับสังกะสีในเซรั่มต่ำ ดังนั้นจึงเห็นครีมทาผิวหลายชนิด จึงมักนิยมเพิ่มซิงค์ลงไปในส่วนผสม เพื่อช่วยในการรักษาอาการทางผิวหนัง เช่น การระคายเคือง หรือผื่นบนผิวหนัง

แหล่งของสักกะ มีดังต่อไปนี้

  • ในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เป็นต้น
  • ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วดำ ถั่วลูกไก่ ถั่วเขียว เป็นต้น
  • ธัญพืช เช่น ในเมล็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดแตงโม ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
  • เครื่องเทศ
  • ผักบางชนิด เช่น โขม ผักคะน้า เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น
  • ไข่
  • สัตว์ทะเล เช่น หอยนางรม ปู กุ้ง เป็นต้น
  • โกโก้ ช็อคโกแลต

หากร่างกายมีภาวะขาดซิงค์ จะเป็นอย่างไร ?

  • มีการรับรสและกลิ่น ลดลง
  • มีภูมิคุ้มกันลดลง
  • การเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆลดลง
  • มีอาการผมร่วงมากกว่าปกติและมีผมแตกปลาย
  • เล็บเปราะหรือแตกหักง่าย และมีจุดขาวบนเล็บ
  • มีผิวหนังที่แห้งและอักเสบ
  • บาดแผลเกิดการหายช้า
  • ทำให้สรรถภาพทางเพศลดลง
  • ในเด็กอาจมีโอกาสการเจริญเติบโตลดลง เกิดการเตี้ย แคระแกรน

ในปัจจุบัน นั้นก็มีซิงค์ ในรูปแบบเม็ดออกมาวางจำหน่ายหลากหลาย ยี่ห้อ ให้เราได้เลือกซื้อมารับประทานกัน แต่อย่างไรก็แล้วแต่ ผู้บริโภคนั้นจำเป็นต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีกระบวนการผลิตที่ดีตรงตามมาตรฐาน GMP และได้รับการอนุญาติจากองค์กรอาหารและยา หรือ อย. ด้วยเช่นกัน


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.sanook.com/health/22577/

ติดตามข่าวสารอื่นๆ ได้ที่ https://girlvariety.com/ ชุมชนสำหรับผู้หญิง